• หน้าแรก
  • ข่าวสาร
  • ใบอนุญาต IP Invesment Planner , IC complex , IC plain และ คุณวุฒิวิชาชีพ นักวางแผนการเงิน CFP , ที่ปรึกษาการเงิน AFPT คืออะไร และทำไรได้บ้าง แตกต่างกันอย่างไร

ใบอนุญาต IP Invesment Planner , IC complex , IC plain และ คุณวุฒิวิชาชีพ นักวางแผนการเงิน CFP , ที่ปรึกษาการเงิน AFPT คืออะไร และทำไรได้บ้าง แตกต่างกันอย่างไร


 

ใบอนุญาต (License)

  • ผู้แนะนำการลงทุน  (Investment Consultant, IC) คือ ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต.ให้ทำหน้าที่แนะนำชักชวนให้ผู้ลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
  • ผู้วางแผนการลงทุน (Investment Planner, IP) คือ ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. ให้ทำหน้าที่แนะนำการลงทุนแก่ผู้ลงทุน และยังสามารถใช้ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้ามาทำการวางแผนการลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และวัตถุประสงค์การลงทุนของลูกค้าแต่ละราย
ประเภท
การให้ความเห็นชอบ

ประเภทธุรกรรมที่สามารถทำได้

แนะนำการลงทุน

วางแผนการลงทุน
(Asset Allocation)
ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีความซับซ้อน
ตราสารหนี้และกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูง หรือมีความซับซ้อน
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ผู้วางแผนการลงทุน (IP)

ผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 1
(IC complex 1)
ผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 2
(IC complex 2)

ผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 3
(IC complex 3)

ผู้แนะนำการลงทุนตราสารทั่วไป
(IC plain)

 
การให้ความเห็นชอบมีอายุ 2 ปีปฏิทิน โดยเริ่มนับปีที่ 1 ในปีถัดจำกปีที่ได้รับความเห็นชอบ เช่น ได้รับความเห็นชอบเป็น IC เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2563 ความเห็นชอบจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2565

การต่ออายุการให้ความเห็นชอบ ต้องอบรมหลักสูตร refresher 15 ชั่วโมง ในรอบระยะเวลา 2 ปีปฏิทิน เช่น ถ้าการให้ความเห็นชอบสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2563 ต้องอบรมในช่วงปี 2562-2563  (โดยปกติ ข้อมูลการอบรมจะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของ ก.ล.ต. ในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่เข้ารับการอบรม เช่น อบรมเดือนกุมภาพันธ์ ข้อมูลจะเข้าระบบประมาณวันที่ 15 เดือนมีนาคม) และทำการยื่นคำขอต่ออายุผ่านระบบ ORAP ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน – 15 ธันวาคม ของปีที่การให้ความเห็นชอบจะสิ้นสุด และชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุ  1,070 บาท (รวม vat)

อยากได้ใบอนุญาต  IP Invesment Planner , IC complex , IC plain  ต้องทำอย่างไร

ผ่านการสอบ สอบผ่านก็ขึ้นทะเบียนได้
 
อยากได้  IP Invesment Planner , IC complex , IC plain  ต้องทำยังไง

ในส่วนของ ใบอนุญาต  IP Invesment Planner เมื่อเรา มีใบอนุญาต IC complex แล้ว เราต้องอบรมและสอบ หลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP
 
ต้องอบรม CFP ต้องผ่านการสอบ CFP
การวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ ข้อสอบฉบับที่ 1: พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ (ปรนัย 85 ข้อ)
การวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน (Investment Planning)  ข้อสอบฉบับที่ 2: การวางแผนการลงทุน (ปรนัย 85 ข้อ)

สอบผ่าน แล้วสามารถขึ้นทะเบียนได้เลย
 

คุณวุฒิวิชาชีพ (Certificate)

นักวางแผนการเงิน CFP (CERTIFIED FINANCIAL PLANNER) คือบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ มีจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด และมีคุณสมบัติในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินที่สามารถให้บริการวางแผนการเงินส่วนบุคคลได้อย่างรอบด้าน ครอบคลุมทั้งด้านพื้นฐานการวางแผนการเงิน ด้านการวางแผนการลงทุน ด้านการวางแผนการประกันภัย ด้านการวางแผนภาษีและมรดก ด้านการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ ตามมาตรฐานของคณะกรรมการมาตรฐานการวางแผนการเงิน (Financial Planning Standards Board Ltd. - FPSB) ซึ่งเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ โดยสมาคมนักวางแผนการเงินไทยได้รับอนุญาตให้นำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ของประเทศไทย

ที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ คือบุคคลที่สมาคมนักวางแผนการเงินไทยรับรองความสามารถในการให้บริการวางแผนหรือปรึกษาการเงินซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่
- ที่ปรึกษาการเงินด้านการลงทุน ต้องผ่านการอบรม และสอบผ่านด้านพื้นฐานการวางแผนการเงิน และด้านการวางแผนการลงทุน
- ที่ปรึกษาการเงินด้านการประกันชีวิต ต้องผ่านการอบรม และสอบผ่านด้านพื้นฐานการวางแผนการเงิน ด้านการวางแผนประกันภัย และการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
 
การจะได้คุณวุฒิวิชาชีพ นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT นั้นมีดังนี้
1.  ต้องผ่านการอบรม ก่อนขึ้นจะมีสิทธิสมัครสอบ
2.  ต้องผ่านการสอบ
3. ต้องมีประสบการทางด้านการเงิน อย่างน้อย 3 ปี


รายละเอียด
การอบรมและการสอบ หลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP
 
การอบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP การสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP
ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และ จรรยาบรรณ ฉบับที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ
*** การสอบฉบับที่ 1 ผู้สมัครจะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 1 
ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน ฉบับที่ 2 การวางแผนการลงทุน
 *** การสอบฉบับที่ 2 ผู้สมัครจะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 1 และ ชุดวิชาที่ 2
ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนประกันภัย ฉบับที่ 3 การวางแผนประกันภัย และการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
ชุดวิชาที่ 4 การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
*** การสอบฉบับที่ 3 ผู้สมัครจะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 1 ,ชุดวิชาที่ 3 และ ชุดวิชาที่ 4
ชุดวิชาที่ 5 การวางแผนภาษีและมรดก ฉบับที่ 4.1 การวางแผนภาษี และมรดก
 *** การสอบฉบับที่ 1 ผู้สมัครจะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 5
      และสอบผ่านหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ฉบับที่ 1,2,3 
ชุดวิชาที่ 6 การจัดทำแผนการเงิน ฉบับที่ 4.2 การจัดทำแผนการเงิน
 *** การสอบฉบับที่ 1 ผู้สมัครจะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 6 
      และสอบผ่านหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ฉบับที่ 1,2,3
 
สอบครบประสบการณ์ถึงก็สามารถขึ้นทะเบียน เป็นนักวางแผนการเงิน CFP ได้เลย
ส่วน ที่ปรึกษาทางการเงิน AFPT สอบ 2 ฉบับผ่านขึ้นไป ก็สามารถขึ้นทะเบียนได้เลย โดยไม่ต้องมีประสบการณ์การทำงานด้านการเงิน เช่น สอบฉบับที่ 1 และ 2 ผ่าน หรือ สอบฉบับที่ 1 และ 3 ผ่าน หรือ สอบ ฉบับที่ 1 , 2 และ 3 ผ่าน ก็สามารถขึ้นทะเบียนได้

 

ThaiPFA ศูนย์อบรมต้นแบบ สู่เส้นทางคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP มืออาชีพมาตรฐานสากล

 


Thai Professional Finance Academy (ThaiPFA)

ติดต่อ


      086-666-0090 , 082-701-7077 , 087-063-3306 
 

ขอบคุณทุกความไว้วางใจ ที่มีให้ ThaiPFA


#นักวางแผนการเงินCFPมาตรฐานสากลกับThaiPFA #เส้นทางสู่วิชาชีพนักวางแผนการเงินCFPมาตรฐานสากลโดยThaiPFA #ThaiPFAศูนย์อบรมต้นแบบเพื่อความมั่งคั่งมั่นคงและยั่งยืน
E-mail: thaipfa@gmail.com
Website: www.thaipfa.co.th 
Social network: www.facebook.com/thaipfa
LINE: @thaipfa
Mobile: 086-666-0090 , 087-063-3306 ,082-701-7077