เส้นทางอาชีพนักวางแผนการเงิน CFP
เส้นทางอาชีพนักวางแผนการเงิน CFP
คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1972 ปัจจุบัน คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ได้รับการยอมรับว่าเป็นมาตราฐานสูงสุดด้านการวางแผนการเงินในระดับสากล สมาคมนักวางแผนการเงินไทยเป็นหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการโครงการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ในประเทศไทยตามข้อตกลงกับ Financial Planning Standards Board Ltd. (FPSB) โดยสมาคมฯ จะอนุญาตให้เฉพาะบุคคลที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP เท่านั้น มีสิทธิ์ใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ซึ่งได้แก่ CFP, CERTIFIED FINANCAIL PLANNING และ CFPสัญลักษณ์แห่งความเป็นเลิศด้านการวางแผนการเงินในระดับสากล
- แคนาดา - สหรัฐอเมริกา - โคลอมเบีย - บราซิล - ตุรกี - เนเธอร์แลนด์ - ฝรั่งเศษ - เยอรมณี - สวิตเซอร์แลนด์ - ออสเตรีย - อังกฤษ - อิสราเอล - ไอร์แลนด์ - แอฟิกาใต้ - นิวซีแลนด์ - ออสเตรเลีย - เกาหลีใต้ - จีน - ญี่ปุ่น - ไต้หวัน - ไทย - มาเลเซีย - สิงคโปร์ - อินเดีย - อินโดนีเซีย - ฮ่องกง
ในสภาวการณ์ปัจจุบันที่ความมั่นคั่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคในประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างต้องการคำปรึกษาด้านการวางแผนการเงินส่วนบุคคลจากนักวางแผนการเงินที่มีความรู้ความสามารถและยึดมั่นในจรรยาบรรณ ทำให้ความต้องการใช้บริการจากนักวางแผนการเงินเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
คุณสมบัติของนักวางแผนการเงิน CFP ต้องมี เรียกง่ายๆ คือ 4E
การศึกษา (Education)
ผู้ขอรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP และคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT จะต้องผ่านการอบรมเพื่อให้มีความรู้ และทักษะด้านการวางแผนการเงินจากสถาบันอบรมของสมาคมฯ การอบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ประกอบด้วยการอบรม 6 ชุดวิชา ได้แก่ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ
ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน
ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย
ชุดวิชาที่ 4 การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
ชุดวิชาที่ 5 การวางแผนภาษีและมรดก
ชุดวิชาที่ 6 การจัดทำแผนการเงิน
ทั้งนี้ ผู้มีคุณวุฒิการศึกษาหรือคุณวุฒิวิชาชะในสาขาวิชาที่เกียวข้องโดยตรงกับเนื้อหาการอบรม สามารถยื่นขอยกเว้นการอบรมในชุดวิชาที่เกี่ยวข้องผ่านการเทียบเคียงพื้นฐานความรู้ (Transcript Review) หรือข้อยกเว้นการอบรมในทุกชุดวิชาผ่านการขอสิทธิ์เจ้าสอบโดยไม่ผ่านการอบรม (Challenge Status)
การเทียบเคียงพื้นฐานความรู้ (Transcript Review)
- ผ่านการเรียนและสอบในระดับปริญญาตรี หรือโทวิชาบริหารการเงินส่วนบุคคล (Personal Finance) ภาษีพื้นฐาน (Taxation) และมูลค่าเงินตามกาลเวลา (Time Value Of Money) ได้รับการยกเว้นอบรม ชุดวิชาที่ 1
- วิชาการลงทุน (Investment) และการวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Securities Analysis) หรือ มีใบอนุญาตที่ปรึกษาการลงทุน (Investment Consultant) ผู้จัดการกองทุน (Fund Manager) หรือที่ปรึกษาการเงิน (Financial Advisor – FA) ได้รับการยกเว้นอบรม ชุดวิชาที่ 2
- วิชาประกันภัย (Insurance) หรือ มีใบอนุญาตตัวแทน/นายหน้าประกันภัยชีวิต ได้รับการยกเว้นอบรม ชุดวิชาที่ 3
การขอสิทธิ์เข้าสอบโดยไม่ผ่านการอบรม (Challenge Status)
มีคุณวุฒิการศึกษา จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกสารอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองจกาสำนักงาน
ก.พ. ในสาขาวิชาการเงิน บริหารธุรกิจ บัญชีหรือเศรษฐศาสตร์
หรือ มีคุณวุฒิวิชาชีพ
- Certified Public Accountant (CPA) หรือ
- Chartered Financial Analyst (CFA (Level 3) หรือ
- CISA (Level 3)
การสอบ (Examination)
ผู้ขอรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP และคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT จะต้องสอบผ่านหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP เพื่อวัดความรู้ และประเมิณความสามารถในการนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้สำหรับการให้คำปรึกษาและจัดการทำแผนการเงินในสถาณการณ์จริงเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับคำปรึกษา การสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ประกอบด้วยข้อสอบ 4 ฉบับ ได้แก่ข้อสอบฉบับที่ | จะสมัครสอบได้ต้องผ่านการอบรมชุดวิชาที่ |
1. พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ | 1. พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ |
2. การวางแผนการลงทุน | 2. การวางแผนการลงทุน |
3. การวางแผนการประกันภัย และการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ | 3. การวางแผนการประกันภัย และ 4. การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ |
4. การวางแผนภาษีและมรดก และการจัดทำแผนการเงิน | 5. การวางแผนภาษีและมรดก และ 6. การจัดทำแผนการเงิน |
ประสบการณ์การทำงาน (Experience)
ผู้ขอรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักงานแผนการเงิน CFP จะต้องมีประสบการณ์การทำงานในด้านการสอน* หรือในอุตสาหกรรมการเงิน** ซึ่งครอบคลุม “หลักปฏิบัติด้านการวางแผนการเงิน” อย่างน้อย 1 ด้านหรือมากกว่า เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปีหลักการปฏิบัติการวางแผนการเงิน
- การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและกำหนดขอบเขตของข้อผูกผัน
- การรวบรวมข้อมูลของลูกค้า
- การวิเคราะห์และประเมินสถานะทางการเงินของลูกค้า
- การจัดทำและนำเสนอแผนการเงิน
- การนำแผนการเงินไปปฏิบัติ
- การทบทวนและปรับแผนการเงินตามสถาณการณ์อย่างสม่ำเสมอ
** สำนักงานบัญชี สำนักงานกฏหมาย สถาบันการเงิน บริษัทที่ให้บริการวางแผนการเงินหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการเงินส่วนบุคคล บริษัทประกันภัย บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการลงทุน และหน่วยงานกำกับดูแล
จรรยาบรรณ (Ethics)
นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT จะต้องตกลงที่จะยึดถือและปฏิบัติตาม “จรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน” ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานที่กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบที่นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT พึงปฏิบัติต่อสาธารณชน ลูกค้า เพื่อนร่วมงาน และนายจ้างเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อวิชาชีพนักวางแผนการเงินคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP
สัญลักษณ์แห่งความเป็นเลิศด้านการวางแผนการเงินในระดับสากล
ผู้ประกอบงิชาชีพในอุตสาหกรรมการเงินทั่วโลกมุ่งมั่นที่จะได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์แห่งความโดดเด่นด้านวิชาชีพการวางแผนการเงินที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เพื่อสร้างความแตกต่างจากผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินทั่วไปนักวางแผนการเงิน CFP
นักวางแผนการเงิน CFP เป็นผู้มีความสามารถและทักษะในการให้คำปรึกษาการวางแผนการเงินส่วนบุคคลแบบองค์รวมที่ครอบคลุมการวางแผนการบริหารกระแสเงินสด การวางแผนการลงทุน การวางแผนประกันชีวิต การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ และการวางแผนภาษีและมรดก รวมถึงการวางแผนการเงินเพื่อเป้าหมายเฉพาะ เพื่อช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาบรรลุเป้าหมายทางการเงินและชีวิต
เป้าหมายทางการเงินส่วนบุคคล
การบริหารกระแสเงินสด
การลงทุน
ภาษีและมรดก
การเกษียณอายุ
การประกันชีวิต
นักวางแผนการเงิน CFP จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP (คุณสมบัติ 4E) ได้แก่ ผ่านการอบรม (Education) ผ่านการสอบ (Examination) มีประสบการณ์การทำงาน (Experience) และปฏิบัติตามจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน (Ethics) ทั้งนี้ ภายหลังที่ได้รับการรับรองตามเกณฑ์การต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพแล้ว นักวางแผนการเงิน CFP จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพและเกณฑ์การพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP
การศึกษา Education
ผ่านการอบรม ชุดวิชาที่ 1-6 (40 ชม./ชุดวิชา)
- อบรมในห้องเรียน (24 ชม.)
- การศึกษาด้วยตนเอง (16 ชม.)
สอบผ่านข้อสอบฉบับที่ 1-4
ประสบการณ์การทำงาน Experience
มีประสบกาณ์การทำงานอย่างน้อย 3 ปี
จรรยาบรรณ Ethics
ปฏิบัติตามจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน
เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP
เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ได้แก่ CFP, CERTIFIED FINANCIAL PALNNER และ CFP ที่ใช้ภายนอกประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นลิทขสิทธิ์ของ Financial Planning Standards Board Ltd (FPSB) สมาคมนักวางแผนทางการเงินไทยเป็นหน่วยงานที่ได้รับการอนุญาตให้บริหารจัดการโครงสร้างรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ในประเทศไทย ตามข้อตกลงกับ FPSB บุคคลที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การรับรองคุณวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ที่สมาคมฯ กำหนดเท่านั้น จะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายดังกล่าว
คุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT
คุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT เป็นคุณวุฒิวาชาชีพที่เป็นที่รู้จกและใช้ภายในประเทศไทย ผู้ที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT สามารถพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถผ่านการอบรมและการสอบเพิ่มเติมเพื่อก้าวไปสู่เป็นนักวางแผนการเงิน CFP
ที่ปรึกษาการเงิน AFPT
ที่ปรึกษาการเงิน AFPT มีหน้าที่ให้คำปรึกษาเฉพาะด้านการวางแผนการลงทุน และ/หรือด้านการวางแผนประกันชีวิตและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT
ด้านการลงทุน
การศึกษา Education
ผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 1 และ 2 (40 ชม./ชุดวิชา)
- อบรมในห้องเรียน (24 ชม.)
- ศึกษาด้วยตัวเอง (16 ชม.)
สอบผ่านข้อสอบฉบับที่ 1และ 2
จรรยาบรรณ Ethics
ปฏิบัติตามจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน
ด้านการประกันชีวิต
การศึกษา Education
ผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 1,3 และ 4 (40 ชม./ชุดวิชา)
- อบรมในห้องเรียน (24 ชม.)
- ศึกษาด้วยตนเอง (16 ชม.)
สอบผ่านข้อสอบฉบับที่ 1 และ 3
จรรยาบรรณ Ethics
ปฏิบัติตามจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน
การพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่องและการต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ
นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT มีหน้าที่ต้องพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อพัฒนาการทางวิชาชีพการวางแผนการเงินและกฎระเบียบที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และต้องต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพทุก 2 ปีปฏิทิน เพื่อสิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP และเครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT ทั้งนี้ สำหรับนักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT ที่ยื่นขอรับรองคุณวุฒิวิชาชีพครั้งแรก ให้เริ่มต้นนับระยะเวลาสำหรับการยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ ตั้งแต่เดือนมกราคมของปีปฏิทินถัดไปในการต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์พัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (Continuing Professional Development – CPD) โดยต้องมีจำนวนชั่วโมง CPD ไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อ 2 ปี และต้องมีจำนวนชั่วโมง CPD ที่มาจากกิจกรรม “การอบรมหรือสัมมนา” อย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนชั่วโมง CPD ที่กำหนด และเป็นการอบรมหรือสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน และ/หรือหลักปฏิบัติการวางแผนการเงินที่จัดโดนสมาคมฯ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง