วิธีคำนวณ IRR อัตราผลตอบแทนภายใน กรมธรรม์ประกันชีวิต
การคำนวณหา IRR หรือ อัตราผลตอบแทนภายในกรมธรรม์ประกันชีวิตนั้นสามารถคิดคำนวณได้ง่ายๆ ผ่านโปรแกรมวางแผนการเงิน allaboutFIN ไม่ต้องใช้สูตรที่ซับซ้อนให้สับสน มาลองคำนวณกันดีกว่าว่าอัตราผลตอบแทนภายในกรมธรรม์ประกันชีวิตของเรานั้นคือเท่าไหร่กัน
วิธีการใช้โปรแกรม allaboutFIN ในการคำนวณอัตราผลตอบแทนภายในกรมธรรม์ หรือ Internal Rate of Return หรือ IRR เริ่มต้นเข้าไปที่ Website: www.allaboutfin.com แล้วคลิ๊กที่เมนู Fin Programs แล้วคลิ๊กเลือกเมนูย่อย “วางแผนประกัน” จะปรากฏหน้าจอให้ใส่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ต้องการคำนวณหาค่า IRR
กรณีที่ใช้โปรแกรม allaboutFIN ผ่าน Mobile Application ให้คลิ๊กที่เมนู IRR ที่อยู่ด้านล่าง จะปรากฏหน้าจอให้ใส่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ต้องการคำนวณหาค่า IRR หลังจากนั้นให้ทำการใส่ข้อมูลระยะเวลาคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันชีวิต ระยะเวลาชำระเบี้ยประกันชีวิต และจำนวนเงินเอาประกันภัยหรือทุนประกันภัย
ยกตัวอย่างกรมธรรม์ประกันชีวิตที่แสดงข้อมูลให้เห็นบนหน้าจอ ซึ่งมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปี แต่มีระยะเวลาชำระเบี้ยประกันชีวิตเพียง 3 ปี
และมีจำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท
โดยต้องชำระเบี้ยประกันชีวิตทุกๆต้นปีกรมธรรม์ ปีละ 75,000 บาท
และจะได้รับผลประโยชน์เงินคืนทุกๆสิ้นปี โดย 3 ปีแรกจะได้คืนปีละ 3%
ของจำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท เท่ากับปีละ 3,000 บาท และ 3 ปีถัดไป ในปีที่ 4, 5 และ 6 จะได้คืนอีกปีละ 4%
ของจำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาทเท่ากับปีละ 4,000 บาท และ 3 ปีถัดไป ในปีที่ 7, 8 และ 9 จะได้คืนอีกปีละ 5%
ของจำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท เท่ากับปีละ 5,000 บาท และปีสุดท้าย สิ้นปีที่ 10
ผลประโยชน์และเงินคืนที่จะได้รับทั้งหมดรวมกันในปีนั้นเท่ากับ 220% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท เท่ากับ 220,000 บาท ให้พิมพ์ตัวเลข 10 ในช่องข้อมูลระยะเวลาคุ้มครอง ให้พิมพ์ตัวเลข 3 ในช่องข้อมูลระยะเวลาชำระเบี้ยประกันชีวิต ให้พิมพ์ตัวเลข 100,000
ในช่องจำนวนเงินเอาประกันภัยหรือทุนประกันภัย แล้วกดต่อไป จะปรากฏตารางในคอลัมน์แรกเป็นปีที่ชำระเบี้ยประกันชีวิตและปีที่คุ้มครอง
ในคอลัมน์ถัดไปเป็นช่องให้ใส่ข้อมูลเบี้ยประกันชีวิตที่ต้องจ่ายทุกๆต้นปีกรมธรรม์ ซึ่งจะใส่ข้อมูลเบี้ยประกันชีวิตได้ตามจำนวนปีที่กรอกข้อมูลระยะเวลาชำระเบี้ยประกันชีวิตมาก่อนหน้านี้เท่านั้น ในขณะที่คอลัมน์ที่สามจะเป็นช่องให้ใส่ข้อมูลผลประโยชน์หรือเงินคืนที่ได้รับทุกๆสิ้นปีกรมธรรม์
โดยให้ใส่ข้อมูลเป็นเปอร์เซ็นต์ของทุนประกันภัย โดยที่ไม่ต้องใส่เครื่องหมายเปอร์เซ็นต์ลงไปในช่องข้อมูล กรณีที่ปีใดไม่มีเงินคืนก็ไม่ต้องใส่ข้อมูล เนื่องจากโปรแกรมจะใส่ข้อมูลพื้นฐานเป็นศูนย์ไว้ให้แล้ว หลังจากที่กรอกข้อมูลผลประโยชน์เงินคืนเป็นเปอร์เซ็นต์ของทุนประกันภัย คอลัมน์สุดท้ายจะปรากฏข้อมูลผลประโยชน์หรือเงินคืนที่ได้รับทุกๆสิ้นปีกรมธรรม์เป็นหน่วยบาท
โดยทำการคูณผลประโยชน์หรือเงินคืนที่กรอกข้อมูลเป็นเปอร์เซ็นต์กับทุนประกันภัยให้ตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง
จากตัวอย่างกรมธรรม์ประกันชีวิตข้างต้นให้กรอกข้อมูลดังนี้ ในคอลัมน์ที่สองที่ระบุเบี้ยประกันชีวิต
ให้พิมพ์ตัวเลข 75000 ในปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 3 ตามลำดับ
ในคอลัมน์ที่สามที่ระบุผลประโยชน์เงินคืน ให้พิมพ์ตัวเลข 3 ในปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 3 ตามลำดับ
และพิมพ์ตัวเลข 4 ในปีที่ 4 ปีที่ 5และปีที่ 6 ตามลำดับ และพิมพ์ตัวเลข 5 ในปีที่ 7 ปีที่ 8 และปีที่ 9 ตามลำดับ
ในขณะที่ปีสุดท้ายปีที่ 10 ให้พิมพ์ตัวเลข 220 หลังจากกรอกข้อมูลผลประโยชน์เงินคืนเป็น % ของทุนประกันภัยเรียบร้อยแล้ว
ในคอลัมน์สุดท้ายจะปรากฏข้อมูลผลประโยชน์เงินคืน เป็นหน่วยบาทโดยอัตโนมัติดังนี้ ปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 3
จะแสดงผลประโยชน์เงินคืนปีละ 3,000 บาท ในขณะที่ปีที่ 4 ปีที่ 5และปีที่ 6 จะแสดงผลประโยชน์เงินคืนปีละ 4,000 บาท และปีที่ 7 ปีที่ 8 และปีที่ 9
จะแสดงผลประโยชน์เงินคืนปีละ 5,000 บาท และปีสุดท้ายปีที่ 10 จะแสดงผลประโยชน์เงินคืน 220,000 บาท
หลังจากกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้ทำการคลิ๊กที่ปุ่ม “คำนวณ” จะปรากฏหน้าต่างแกนของเวลาหรือ Time Line 2 หน้าต่างด้วยกัน โดย Time Line แรกจะแสดงข้อมูลที่กรอกเข้าไปในโปรแกรม โดยจะแสดงข้อมูลเบี้ยประกันชีวิตที่ต้องจ่ายซึ่งใส่เครื่องหมายลบไว้และผลประโยชน์เงินคืนที่ได้รับซึ่งใส่เครื่องหมายบวก ในขณะที่ Time Line ถัดไปจะนำเบี้ยประกันชีวิตและผลประโยชน์เงินคืนมาบวกลบกันเป็นกระแสเงินสดสุทธิ ในกรณีที่มีข้อมูลมากเกินกว่าที่จะแสดงให้เห็นในหน้าจอเดียวได้ จะปรากฏแถบ scroll bar สีเทาด้านล่างให้เลื่อนดูข้อมูลในปีต่อๆไปได้ หรือสามารถกดที่รูปเลื่อนไปดูข้อมูลด้านขวาที่ยังไม่ปรากฏให้เห็นได้ ด้านล่างสุดของหน้าจอจะปรากฏคำตอบของอัตราผลตอบแทนภายในกรมธรรม์หรือ IRR ซึ่งแสดงผลเป็นเปอร์เซ็นต์โดยปัดเศษทศนิยมขึ้นเป็น 2 ตำแหน่ง
อย่าลืมกด ติดตามและกด Like เพื่อให้กำลังใจพวกเราด้วยนะครับ หากมีข้อแนะนำสามารถคิดชมได้ที่คอมเม้นนะครับ ขอบคุณครับ ติดตามข่าวสาร และสาระดีๆ
เกี่ยวกับการวางแผนการเงินได้ที่ https://www.facebook.com/ThaipfaThaiProfessionalFinanceAcademy/ https://www.facebook.com/Thaipfa/
ติดตามเครื่องมือการวางแผนการเงิน และโปรแกรมวางแผนการเงินได้ที่ https://www.facebook.com/allaboutfin/ http://www.allaboutfin.com/
สนใจอบรมหลักสูตรทางการเงินเพื่อก้าวเข้าสู่เส้นทางนักวางแผนการเงินคุณวุฒิวิชาชีพ CFP มาตรฐานสากลโดยศูนย์อบรม ThaiPFA ThaiPFA ศูนย์อบรมที่มีประสบการณ์ในการจัดอบรมอย่างยาวนาน ThaiPFA ศูนย์อบรมหลักสูตรการวางแผนการเงินคุณวุฒิวิชาชีพ CFP แห่งแรกในประเทศไทย ThaiPFA บรรยายโดยวิทยากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญความชำนาญอย่างแท้จริงในอุตสาหกรรมการเงินได้ที่ http://www.thaipfa.co.th/ http://www.thaipfa.com/