คุณวุฒิวิชาชีพทางด้านการเงิน มีอะไรไรบางที่เราต้องมี

ปีใหม่ หลายคนอาจต้องการตั้งเป้าหมายใหม่ เปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ เพิ่มขีดความสามารถใหม่
มาเพิ่ม Skill ใหม่ "Level UP+" สร้างทักษะในการวางแผนการเงิน ที่ ThaiPFA ด้วยการพัฒนาความรู้ด้านการเงินอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น
- การวางแผนการเงินเบื้องต้น
- การวางแผนการลงทุน
- การวางแผนประกันภัย
- การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
- การวางแผนภาษีและมรดก
- การจัดทำแผนการเงินแบบองค์รวม
เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการเงินให้กับตนเอง และ คนรอบข้าง เพื่อให้มีชีวิตที่ดีขึ้น มีความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน
รวมทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสสู่วิชาชีพใหม่ หรืออาชีพเสริมใหม่ ด้วยใบอนุญาตและคุณวุฒิวิชาชีพทางการเงิน
Level UP+ ทั้ง License และ Certificate ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
- Level UP+ จาก บุคลากรในอุตสาหกรรมการเงินทั่วไป เป็น ผู้แนะนำการลงทุน (IC)

IC Plain คือ ผู้แนำนำการลงทุนตราสารทั่วไป
หน้าที่ที่แนะนำได้ คือ ตราสารทุน กองทุนรวม ตราสารหนี้ ที่มีลักษณะไม่ซับซ้อนคุณสมบัติ สอบผ่าน IC : Plain products ตราสารทั่วไป (P1)
IC Complex 3 คือ ผู้แนำนำการลงทุนตราสารซับซ้อน ประเภท 3
หน้าที่ที่แนะนำได้ คือ ตราสารทุน กองทุนรวม ตราสารหนี้ ที่มีลักษณะไม่ซับซ้อน และ สัญญาซื้อขายล้วงหน้าคุณสมบัติ สอบผ่าน IC : Plain products ตราสารทั่วไป (P1) และ IC : Complex products ตราสารที่มีความเสี่ยงซับซ้อน (สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (P3)
IC Complex 2 คือ ผู้แนำนำการลงทุนตราสารซับซ้อน ประเภท 2
หน้าที่ที่แนะนำได้ คือ ตราสารทุน กองทุนรวม ตราสารหนี้ ที่มีลักษณะไม่ซับซ้อน และ กองทุนรวมและตราสารหนี้ ที่มีลักลักษณะซับซ้อนคุณสมบัติ สอบผ่าน IC : Plain products ตราสารทั่วไป (P1) และ IC : Complex products ตราสารที่มีความเสี่ยงซับซ้อน (ตราสารหนี้และกองทันรวม (P2)
IC Complex 1 คือ ผู้แนำนำการลงทุนตราสารซับซ้อน ประเภท 1
หน้าที่ที่แนะนำได้ คือ ตราสารทุน กองทุนรวม ตราสารหนี้ ที่มีลักษณะไม่ซับซ้อน สัญญาซื้อขายล้วงหน้า และ กองทุนรวมและตราสารหนี้ ที่มีลักลักษณะซับซ้อนคุณสมบัติ สอบผ่าน IC : Plain products ตราสารทั่วไป (P1) และ IC : Complex products ตราสารที่มีความเสี่ยงซับซ้อน (ตราสารหนี้และกองทันรวม (P2) และ IC : Complex products ตราสารที่มีความเสี่ยงซับซ้อน (สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (P3)
*** บุคคลที่จะสามารถขึ้นทะเบียนในเงื่อนไขใบอนุญาต ต้องจบปริญญตรี ขึ่นไป สาขาใดก็ได้
- Level UP+ จาก ผู้แนะนำการลงทุน (IC) เป็น ผู้วางแผนการลงทุน (IP)

IP Invesmet planner คือ ผู้วางแผนการลงทุน
หน้าที่ที่แนะนำได้ คือ ตราสารทุน กองทุนรวม ตราสารหนี้ ที่มีลักษณะไม่ซับซ้อน สัญญาซื้อขายล้วงหน้า และ กองทุนรวมและตราสารหนี้ ที่มีลักลักษณะซับซ้อน และสามารถจัดแผนนำเสนอแผนการลงทุนให้กับผู้รับคำปรึกษาได้
คุณสมบัติ สอบผ่าน
- IC : Plain products ตราสารทั่วไป (P1) และ
- IC : Complex products ตราสารที่มีความเสี่ยงซับซ้อน (ตราสารหนี้และกองทันรวม (P2) และ
- IC : Complex products ตราสารที่มีความเสี่ยงซับซ้อน (สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (P3)
- CFP Paper 1 การวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ
- CFP Paper 2 การวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน (Investment Planning)
- Level UP+ จาก ที่ปรึกษาการเงินทั่วไป เป็น ที่ปรึกษาการเงิน AFPT

AFPT คือ ที่ปรึกษาการเงิน AFPT ย่อมากจาก Associate Financial Planner Thailand เป็นคุณวุฒิผู้ประกอบวิชาชีพที่รับรองโดยสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ซึ่งรับรองความสามารถของที่ปรึกษาการเงินในการให้บริการวางแผนหรือปรึกษาการเงินซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่
- ที่ปรึกษาการเงินด้านการลงทุน ต้องผ่านการอบรม และสอบผ่าน ด้านการวางแผนการลงทุน
- ที่ปรึกษาการเงินด้านการประกันชีวิต ต้องผ่านการอบรม และสอบผ่าน ด้านการวางแผนประกันภัย และการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
หน้าที่คือ ที่ปรึกษาการเงิน AFPT มีหน้าที่ให้คำแนะนำและคำปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับด้านการวางแผนการลงทุน และ/หรือด้านการวางแผนการประกันชีวิตและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
คุณสมบัติ สอบผ่าน หลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP 2 ชุดวิชาขึ้นไป
- CFP Paper 1 การวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ
- CFP Paper 2 การวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน (Investment Planning)
- CFP Paper 3 ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย (Insurance Planning) และ ชุดวิชาที่ 4 การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ (Retirement Planning)
จะสอบได้ต้องผ่านการอบรมในแต่ล่ะชุดวิชาที่สอบ ตามเงื่อนไข การสมัครสอบการวางแผนการเงิน CFP และคุณวุฒิ AFPT ไม่ต้องมีประสบการณ์ทางด้านการเงิน และไม่ต้องจบอะไรมา ก็สามารถเรียนรู้และสอบได้
- Level UP+ จาก ที่ปรึกษาการเงิน AFPT เป็น นักวางแผนการเงิน CFP

CFP คือ เป็นคุณวุฒิของผู้ประกอบวิชาชีพที่สามารถให้บริการวางแผนการเงินซึ่งประกอบด้วย แผนการลงทุน แผนการประกันชีวิต แผนภาษีและมรดก และแผนเพื่อวัยเกษียณแก่ลูกค้า ที่ครอบคลุมทั้งการให้คำปรึกษาและจัดทำแผนการเงินในทุกๆด้านตามที่กล่าวมาภายใต้ข้อจำกัดและเงื่อนไขเฉพาะของแต่ละบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการเงินตามต้องการ และมีชีวิตบั้นปลายภายหลังเกษียณอย่างมีความสุข เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างจุดที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไปสู่เป้าหมายในอนาคต โดยนักวางแผนการเงิน CFP® จะต้องสอบผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ
เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP® เป็นลิขสิทธิ์ของคณะกรรมการมาตรฐานการวางแผนการเงิน ( Financial Planning Standards Board Ltd. - FPSB ) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลการพัฒนามาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP เพื่อให้ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับประโยชน์และได้รับการคุ้มครอง สมาคมนักวางแผนการเงินไทย (สมาคมฯ) ซึ่งเป็นสมาชิกและมีคุณสมบัติตามข้อกาหนดของคณะกรรมการมาตรฐานการวางแผนการเงิน ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการให้ดาเนินการบริหารโครงการคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ในประเทศไทย บุคคลที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP และเกณฑ์การต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ที่สมาคมฯ กาหนด จะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP
หน้าที่คือ นักวางแผนการเงิน CFP มีหน้าที่ให้คำแนะนำและวางแผนการเงินส่วนบุคคลที่ครอบคลุมครบทุกด้าน ได้แก่ การวางแผนการบริหารเงินสด การวางแผนการลงทุน การวางแผนการประกันชีวิต การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ การวางแผนภาษีและมรดก และการวางแผนการเงินเพื่อเป้าหมายเฉพาะ
คุณสมบัติ สอบผ่าน หลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP 2 ชุดวิชาขึ้นไป
- CFP Paper 1 การวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ
- CFP Paper 2 การวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน (Investment Planning)
- CFP Paper 3 ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย (Insurance Planning) และ ชุดวิชาที่ 4 การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ (Retirement Planning)
- CFP Paper 4 ส่วนที่ 1 การวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 5 การวางแผนภาษีและมรดก (Tax and Estate Planning)
- CFP Paper 4 ส่วนที่ 2 การวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 6 การจัดทำแผนการเงิน (Financial Plan Construction)
จะสอบได้ต้องผ่านการอบรมในแต่ล่ะชุดวิชาที่สอบ ตามเงื่อนไข การสมัครสอบการวางแผนการเงิน CFP และคุณวุฒินักวางแผนการเงิน CFP จะขึ้นทะเบียนได้ต้องมีประสบการทางด้านการเงิน อย่างน้อย 3 ปี รายละเอียด

สมัครอบรมเพื่อ Up Skill ทักษะการวางแผนการเงินได้วันนี้ที่ www.thaipfa.co.th
กับสถาบันที่ได้รับการรับรองว่าเป็นสถาบัน ดีมาก จัดอับดับโดย สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
และเป็นสถาบันจัดอบรม หลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP แห่งแรกของประเทศไทย
